ที่เกี่ยวข้องกับเหรียญ
เครื่องคำนวณราคา
ประวัติราคา
การคาดการณ์ราคา
การวิเคราะห์ทางเทคนิค
คู่มือการซื้อเหรียญ
หมวดหมู่คริปโต
เครื่องคำนวณกำไร
ที่เกี่ยวข้องกับการเทรด
ซื้อ/ขาย
การฝาก/การถอน
Spot
Margin
USDT-M Futures
Coin-M Futures
บอทเทรด
Copy Trading
Earn
Pre-Market
ราคา EthereumETH
เครื่องคำนวณราคา Ethereum
เครื่องคำนวณคริปโทเคอร์เรนซีเพิ่มเติม >สรุปข้อมูลราคา Ethereum แบบเรียลไทม์
ราคาสูงสุดของ ETH คือเท่าไร
ราคาสูงสุดของ ETH คือเท่าไร
ทำไมราคา ETH ผันผวนอยู่ตลอด ปัจจัยใดบ้างส่งผลต่อผลการดำเนินงานของราคา ETH
การคาดการณ์ราคา Ethereum
ช่วงไหนเป็นจังหวะที่ดีในการซื้อ ETH ตอนนี้ควรซื้อหรือขาย ETH
ราคา ETH จะเป็นเท่าใดในปี 2025
ราคา ETH จะเป็นเท่าใดในปี 2030
เรตติ้ง Ethereum
เกี่ยวกับ Ethereum (ETH)
เกี่ยวกับ Ethereum
Ethereum เป็นระบบบล็อกเชนโอเพนซอร์สแบบกระจายศูนย์ที่สร้างขึ้นในปี 2013 โดย Vitalik Buterin ใช้ Ether (ETH) เป็นค่าธรรมเนียมธุรกรรม ระบบโอเพนซอร์สนี้ทำให้สร้างและจัดการแอปพลิเคชันแบบกระ จายศูนย์ (DApp) ได้ รวมถึงอำนวยความสะดวกในการออกคริปโทเคอร์เรนซีใหม่ที่เรียกว่าโทเค็น Ethereum ซึ่งช่วยยกระดับภูมิทัศน์ด้านการเงินดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชน
Ethereum (ETH) เปิดตัวผ่านการระดมทุนผ่านการเสนอขายเหรียญครั้งแรก (Initial Coin Offering: ICO) โดย Ethereum ICO นั้นจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 กรกฎาคม - 2 กันยายน 2014 ในช่วงเวลาดังกล่าว ผู้เข้าร่วมสามารถซื้อ Ether (ETH) ได้โดยใช้ Bitcoin (BTC) ในอัตรา 2,000 ETH ต่อ BTC หรือราว $0.31 ต่อ ETH ณ ขณะนั้น การทำ ICO ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยระดมทุนไปได้มากกว่า 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเป็นหนึ่งในโปรเจกต์ระดมทุน Crowdfunding ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในพื้นที่คริปโทเคอร์เรนซี
Ethereum (ETH) คืออะไร
Ethereum (ETH) เป็นแพลตฟอร์มบล็อกเชน โอเพนซอร์สแบบกระจายศูนย์ พัฒนาโดย Vitalik Buterin โปรแกรมเมอร์ชาวรัสเซีย-แคนาดา และเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2015 ถือเป็นระบบนิเวศบล็อกเชนที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ตามหลังเพียง Bitcoin เมื่อดูจากมูลค่าตามราคาตลาด สิ่งที่ทำให้ต่างไปจาก Bitcoin คือการที่ Ethereum นั้นนำเสนออรรถประโยชน์ที่กว้างกว่าการเป็นเพียงคริปโทเคอร์เรนซี
โครงสร้างพื้นฐานของ Ethereum
● บล็อกเชน Ethereum: นี่คือรากฐานของเครือข่าย ทำหน้าที่บันทึกประวัติการทำธุรกรรมและข้อมูลทั้งหมด
● Ethereum Virtual Machine (EVM): EVM เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถดำเนินการ Smart Contract และ DApp ได้ ซึ่งมีบทบาทสำคัญยิ่งในระบบนิเวศ Ethereum
● Ether (ETH): Ether เป็นคริปโทเคอร์เรนซีดั้งเดิม (Native) ของเครือข่าย ขับเคลื่อนการทำธุรกรรมและสร้างแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมของเครือข่าย
บล็อกเชนของ Ethereum ออกแบบโครงสร้างมาเพื่อรวมบล็อกต่างๆ ที่บรรจุชุดธุรกรรมและข้อมูล ตัวเครือข่ายดำเนินงานเป็นช่วงเวลาที่มีระยะห่าง 12 วินาทีซึ่งเรียกว่า “สล็อต” โดยเป็นการเลือก Validator เพียงรายเดียวมาเสนอบล็อก ทำให้มั่นใจได้ว่าการประมวลผลธุรกรรมนั้นมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
การอัปเกรดครั้งต่างๆ ของเครือข่าย
นับตั้งแต่เปิดตัว Ethereum มีการอัปเกรดใหญ่หลายครั้งเพื่อยกระดับฟังก์ชันการทำงานและประสิทธิภาพ การอัปเกรดที่สำคัญๆ ได้แก่:
1. Frontier: การเปิดตัวเครือข่าย Ethereum ครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม 2015
2. Homestead: การอัปเกรดใหญ่ครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2016 มีการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลและการปรับปรุงเครือข่ายหลายรายการ
3. DAO Fork: การ Hard Fork ที่เป็นประเด็นถกเถียงในเดือนกรกฎาคม 2016 เพื่อจัดการกับการแฮ็ก DAO ส่งผลให้เกิดการแยกออกเป็น Ethereum (ETH) กับ Ethereum Classic (ETC)
4. Metropolis - Byzantium: เปิดตัวในเดือนตุลาคม 2017 การอัปเกรดนี้มีการปรับปรุงหลายประการ ซึ่งรวมไปถึงการยกระดับฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว
5. Metropolis - Constantinople: ดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ 2019 ปรับปรุงประสิทธิภาพหลายรายการในเครือข่าย ซึ่งรวมไปถึงการลดต้นทุนการทำธุรกรรม
6. Istanbul: นำมา Deploy ในเดือนธันวาคม 2019 การอัปเกรดนี้ช่วยยกระดับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ Ethereum
7. Muir Glacier: เปิดใช้งานในเดือนมกราคม 2020 โดยชะลอ Difficulty Bomb ออกไปเพื่อให้เครือข่ายดำเนินงานได้อย่างราบรื่น
8. Berlin: เปิดตัวในเดือนเมษายน 2021 ปรับปรุงประสิทธิภาพ Gas หลายประการ
9. London: ดำเนินการในเดือนสิงหาคม 2021 การอัปเกรดที่สำคัญนี้มี EIP-1559 ด้วย ซึ่งเปลี่ยนโครงสร้างค่าธรรมเนียมและนำกลไกที่ทำให้เงินฝืด (Deflationary Mechanism) มาใช้
10. The Merge: การอัปเกรดใหญ่ที่เปลี่ยน Ethereum จาก Proof of Work (PoW) ไปเป็น Proof of Stake (PoS) ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานลงได้อย่างมีนัยสำคัญ
11. Shanghai: เปิดตัวในเดือนมีนาคม 2023 การอัปเกรดนี้เป็นการยกระดับเครือข่าย Ethereum ให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น
12. Dencun: ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2024 ซึ่งประกอบด้วยข้อเสนอการปรับปรุง Ethereum (Ethereum Improvement Proposal: EIP) 9 ข้อ โดยมีอัปเกรดพาดหัวคือ EIP-4844 หรือ Proto-Danksharding ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดค่าธรรมเนียม Gas บนโซลูชัน Layer-2 ในขณะที่ EIP-4788 และ EIP-6780 ก็ได้รับการเน้นย้ำถึงความสำคัญเช่นกัน
วิสัยทัศน์ของ Ethereum
Ethereum มีเป้าหมายที่จะทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มระดับโลกสำหรับแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ โดยนำเสนอสภาพแวดล้อมที่ต้านทานต่อการถูกเซนเซอร์ (Censorship-Resistant), ทนต่อช่วงเวลาการหยุดทำงาน (Downtime) และป้องกันการฉ้อโกง วิสัยทัศน์นี้ทำให้ Ethereum ไม่เพียงเป็นแพลตฟอร์มคริปโทเคอร์เรนซีเท่านั้น แต่ยังเป็นระบบนิเวศที่ครอบคลุมสำหรับนวัตกรรมและแอปพลิเคชันดิจิทัลแบบกระจายศูนย์อีกด้วย
ประวัติความเป็นมาของ Ethereum
ประวัติความเป็นมาของ Ethereum เริ่มต้นในปี 2013 ด้วยข้อเสนอของ Vitalik Buterin โปรแกรมเมอร์วัย 19 ปี ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งนิตยสาร Bitcoin Magazine โดย Buterin นั้นจินตนาการถึงแพลตฟอร์มบล็อกเชนที่มีความยืดหยุ่นมากกว่า Bitcoin ซึ่งสามารถรองรับธุรกรรมที่หลากหลายได้ แนวคิดนี้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาใน Whitepaper ที่วางรากฐานให้กับ Ethereum นอกเหนือจากผู้ร่วมก่อตั้งคนอื่นๆ ซึ่งรวมไปถึง Gavin Wood แล้ว Buterin ยังได้รับการสนับสนุนที่สำคัญสำหรับโปรเจกต์นี้อีกด้วย โดยระดมทุนได้ 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านการขายโทเค็นก่อนการเปิดตัวในปี 2014 เงินทุนนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการนำพา Ethereum จากการเป็นเพียงแนวคิดไปทำให้เกิดขึ้นได้จริง
หมุดหมายสำคัญ
1. การเปิดตัว Ethereum (2015): กรกฎาคม 2015 เป็นก้าวสำคัญด้วยการเปิดตัว Ethereum เวอร์ชันสาธารณะรุ่นแรกที่รู้จักกันในชื่อ Frontier การเผยแพร่นี้นำเสนอฟังก์ชันการทำงานของ Smart Contract ซึ่งช่วยให้สามารถทำธุรกรรมอัตโนมัติและซับซ้อนบนบล็อกเชนได้ ฟีเจอร์นี้ทำให้ Ethereum แตกต่างและเปิดโอกาสใหม่ๆ สำหรับแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ (DApp)
2. อุบัติการณ์ DAO และ Hard Fork (2016): ในปี 2016 เกิดเหตุการณ์ที่ DAO ซึ่งเป็นองค์กรอัตโนมัติแบบกระจายศูนย์ที่สร้างบน Ethereum นั้นถูกแฮ็ก ส่งผลให้สูญเสียสินทรัพย์จำนวนมาก เพื่อบรรเทาความเสียหาย ชุมชน Ethereum จึงตัดสินใจที่จะดำเนินการ Hard Fork ส่งผลให้เกิดบล็อกเชนขึ้น 2 อันที่แยกออกจากกัน นั่นคือ Ethereum (ETH) และ Ethereum Classic (ETC)
3. การอัปเกรด Metropolis (2017-2019): Ethereum ดำเนินการอัปเกรดสำคัญๆ หลายรายการภายใต้เฟส Metropolis:
● Byzantium (ตุลาคม 2017): เปิดตัวการปรับปรุงหลายรายการ ซึ่งรวมไปถึงการยกระดับฟีเจอร์ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว
● Constantinople (กุมภาพันธ์ 2019): ปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุนการทำธุรกรรม
%1. การเปลี่ยนไปใช้ Proof of Stake (PoS) - The Merge (2022): หนึ่งในการอัปเกรดที่สำคัญที่สุดเกิดขึ้นในปี 2022 เมื่อ Ethereum เปลี่ยนจากกลไกฉันทามติ Proof of Work (PoW) ไปเป็น Proof of Stake (PoS) การอัปเกรดนี้มีชื่อว่า The Merge เป็นการเปลี่ยนแปลงที่แสดงให้เห็นถึงการหันไปสู่การเป็นบล็อกเชนที่ประหยัดพลังงานและปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยลดการใช้พลังงานของแพลตฟอร์มลงและเพิ่มความสามารถในการจัดการธุรกรรมขึ้น
%1. Ethereum 2.0 และการยกระดับขีดความสามารถในการขยายการรองรับ (2023): หลังจาก The Merge นั้น Ethereum ก็พัฒนาอย่างต่อเนื่องไปสู่ Ethereum 2.0 โดยมุ่งเน้นไปที่ความสามารถในการขยายการรองรับและประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ซึ่งรวมไปถึงการยกระดับรายการต่างๆ อย่าง Sharding ที่แบ่งเครือข่ายออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับส่งข้อมูล (Throughput) ของธุรกรรม
%1. การอัปเกรด Dencun (2024): การอัปเกรดสำคัญล่าสุดที่เรียกว่าการอัปเกรด Dencun นั้นมีกำหนดการเกิดขึ้นในวันที่ 13 มีนาคม 2024 การอัปเกรดนี้ประกอบข้อเสนอการปรับปรุง Ethereum (Ethereum Improvement Proposal: EIP) 9 ข้อ โดยมี EIP-4844 (Proto-Danksharding) มุ่งเป้าไปที่การลดค่าธรรมเนียม Gas บนโซลูชัน Layer-2 นอกจากนี้ยังมี EIP-4788 และ EIP-6780 ที่ยกระดับขีดความสามารถของเครือข่ายเพิ่มเติม
Ethereum ทำงานอย่างไร
สถาปัตยกรรมของ Ethereum
บล็อกเชน Ethereum ประกอบด้วย Node จำนวนมาก ซึ่งแต่ละ Node จะจัดเก็บสำเนาของทั้งบล็อกเชนไว้ โดยพื้นฐานแล้ว Node คือคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่เข้าไปมีส่วนร่วมในเครือข่าย Ethereum ด้วยการเก็บรักษาประวัติของธุรกรรมทั้งหมดจนถึงรายการล่าสุด แต่ละบล็อกใน Chain จะบรรจุรายการธุรกรรม โจทย์คณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน และคำตอบของโจทย์จากบล็อกก่อนหน้าเอาไว้ ซึ่งบล็อกต่างๆ นี้จะเรียงร้อยเชื่อมต่อกันเป็นห่วงโซ่ที่เรียกกันว่าบล็อกเชน
Smart Contract
หัวใจของศักยภาพที่เป็นนวัตกรรมของ Ethereum คือ Smart Contract ซึ่งเป็น Code ที่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง โดยจะทริกเกอร์เมื่อเงื่อนไขที่กำหนดไว้ก่อนหน้าได้เกิดขึ้นครบแล้ว Smart Contract เหล่านี้ทำหน้าที่เป็นเสาหลักของแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ (DApp) และขจัดความจำเป็นในการต้องมีตัวกลางออกไป ลองจินตนาการว่า Smart Contract เป็นตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ เมื่อหยอดเหรียญตามจำนวนที่กำหนดแล้วเลือกสินค้าที่ต้องการ ตู้ก็จะแจกจ่ายสินค้านั้นให้เองโดยไม่ต้องมีมนุษย์เข้าไปยุ่งเกี่ยว
Ethereum Virtual Machine (EVM)
Ethereum Virtual Machine (EVM) เป็นอีกองค์ประกอบสำคัญสำหรับระบบนิเวศ Ethereum โดย EVM ทำหน้าที่เป็นคอมพิวเตอร์กระจายศูนย์ทั่วโลก ซึ่งดำเนินการ Smart Contract ที่เขียนด้วย Solidity ภาษาโปรแกรมมิ่งดั้งเดิมของ Ethereum ทุก Node ในเครือข่ายรัน Instance ของ EVM ของตนเอง แล้วเมื่อได้รับคำสั่งจากธุรกรรมให้เริ่มต้นกระบวนการ ก็จะร่วมกันดำเนินการ Smart Contract โดย EVM ดำเนินการ Smart Contract เหล่านี้ในสภาพแวดล้อมที่แยกต่างหากจากกัน ทำให้มั่นใจได้ถึงมาตรการความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง
Gas และ Ether
การดำเนินการทุกอย่างบน Ethereum ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการธุรกรรมหรือ Smart Contract ต้องใช้ทรัพยากรในการประมวลผล สำหรับการแจกจ่ายทรัพยากรเหล่านี้อย่างเป็นธรรมทั่วเครือข่ายนั้น Ethereum จะใช้แนวคิด “Gas” เป็นหน่วยที่ใช้วัดกำลังการประมวลผลที่ต้องใช้เพื่อดำเนินการต่างๆ ซึ่ง Gas นี้จะชำระเป็น Ether ที่เป็นคริปโทเคอร์เรนซีดั้งเดิมของ Ethereum โดยผู้ใช้จะเริ่มต้นคำสั่งกระบวนการธุรกรรมด้วยการระบุทั้ง Gas Limit และราคา Gas ซึ่งก็คือจำนวน Gas สูงสุดที่ต้องการใช้และจำนวน Ether ที่ต้องการชำระต่อหน่วย Gas ตามลำดับ ค่าธรรมเนียมธุรกรรมทั้งหมดที่เป็น Ether นี้คำนวณจากปริมาณ Gas ที่ใช้กับราคา Gas สิ่งนี้เองจะนำไปเป็นรางวัลค่าตอบแทนให้นักขุดที่ตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมและปกป้องเครือข่ายจากสแปม
ความอเนกประสงค์ของธุรกรรม Ethereum
Ethereum รองรับแอปพลิเคชันหลากหลายรูปแบบนอกเหนือไปจากธุรกรรมทางการเงินทั่วไป ซึ่งรวมไปถึง Decentralized Finance (DeFi), องค์กรอัตโนมัติแบบกระจายศูนย์ (DAO) และมาร์เก็ตเพลสเสมือน แกนหลักของแอปพลิเคชันเหล่านี้คือ Smart Contract ของ Ethereum โปรแกรมอัตโนมัติเหล่านี้อยู่บนบล็อกเชนและดำเนินการโดยอัตโนมัติเมื่อตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ทำให้ไม่ต้องใช้ตัวกลางเลย Smart Contract นี้เมื่อนำไป Deploy แล้วจะไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ จึงทำให้มั่นใจได้ถึงความน่าเชื่อถือและความวางใจได้ในธุรกรรม
ความท้าทายด้านความสามารถในการขยายการรองรับและแนวทางแก้ไข
ในขณะที่ความนิยมของ Ethereum พุ่งสูงขึ้น ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายด้านความสามารถในการขยายการรองรับด้วยเช่นกัน ซึ่งเห็นได้จากความเร็วในการทำธุรกรรมที่ช้าลงและค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นในช่วงเวลาที่มีการใช้งานเป็นจำนวนมาก ปรากฏการณ์ CryptoKitties ในปี 2017 เป็นตัวอย่างสำคัญที่กิจกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นส่งผลให้เกิดความหนาแน่นในเครือข่าย เพื่อจัดการกับปัญหาเหล่านี้ นักพัฒนา Ethereum จึงมุ่งหาโซลูชันต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหา เช่น Sharding และ Rollup
Sharding: โซลูชันสำหรับความสามารถในการขยายการรองรับ
Sharding เป็นเทคนิคที่แบ่งฐานข้อมูลของเครือข่ายออกเป็นส่วนย่อยๆ หรือเรียกว่า Shard แต่ละ Shard เป็นตัวแทนเศษเสี้ยวของฐานข้อมูลทั้งหมดและจัดเก็บไว้ในคนละเซิร์ฟเวอร์กัน วิธีการนี้ช่วยลดภาระการจัดเก็บข้อมูลในแต่ละ Node ลงได้อย่างมาก ทำให้มีผู้คนเข้าร่วมในฐานะ Node Operator ได้มากขึ้น Sharding ไม่เพียงช่วยเพิ่มความเร็วในการทำธุรกรรมเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยโดยรวมของเครือข่ายอีกด้วย
Rollup: การทำธุรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
Rollup เป็นอีกโซลูชันล้ำนวัตกรรม โดยเป็นการมัดรวมธุรกรรมจำนวนมากเข้าไว้ด้วยกันแล้วประมวลผลเป็นธุรกรรมเดียว วิธีการนี้ช่วยลดค่าธรรมเนียม Gas ต่อธุรกรรมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ใช้ประหยัดมากขึ้น
Proof of Stake (PoS)
Ethereum ย้ายจากการใช้กลไกฉันทามติ Proof of Work (PoW) มาใช้ Proof of Stake (PoS) ในช่วง “The Merge ” เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2022 การอัปเกรดนี้เป็นส่วนสำคัญของ Ethereum 2.0 โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความเร็ว ความปลอดภัย และประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครือข่าย
PoS ทำงานอย่างไร
ในโมเดล PoS ระบบจะเลือก Validator มาผลิตบล็อกใหม่ โดยอิงตามจำนวน Ether (ETH) ที่ถือครองและเต็มใจนำไป “Stake” เป็นหลักประกัน ลักษณะเช่นนี้ตรงกันข้ามกับโมเดล PoW ที่นักขุดต้องแก้โจทย์คณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมและผลิตบล็อกใหม่
1. การเป็น Validator: ในการเป็น Validator ผู้เข้าร่วมต้อง Stake 32 ETH ในสัญญาฝากอย่างเป็นทางการของ Ethereum
2. กระบวนการ Stake: หลังจาก Stake ETH แล้ว ผู้เข้าร่วมจะกลายเป็น Validator และรับผิดชอบในการเสนอบล็อกใหม่และตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรม
3. ข้อเสนอบล็อกและการตรวจสอบความถูกต้อง: โปรโตคอลจะสุ่มเลือก Validator เพื่อเสนอบล็อกใหม่ บล็อกที่เสนอจะถูกตรวจสอบโดย Validator รายอื่น หาก Validator ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับความถูกต้องของบล็อก ก็จะถูกเพิ่มเข้าไปในบล็อกเชน
4. รางวัลจูงใจและบทลงโทษ: Validator มีรางวัลจูงใจให้ดำเนินการอย่างซื่อสัตย์จากการที่จะได้รางวัลเป็น ETH เพิ่มเติม รางวัลเหล่านี้มาจากอัตราเงินเฟ้อและค่าธรรมเนียมธุรกรรมของเครือข่ายจากบล็อกที่ทำการตรวจสอบความถูกต้อง Validator ที่กระทำการประสงค์ร้ายหรือไม่ดูแลรักษา Node ของตนอาจถูกลงโทษ เช่น การ Slash โดยระบบจะยึดบางส่วนหรือทั้งหมดของ ETH ที่ได้ Stake ไว้
ข้อดีของ PoS
● ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน: PoS ลดการใช้พลังงานลงได้อย่างมากเมื่อเทียบกับ PoW จึงทำให้เครือข่ายเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า
● ความสามารถในการขยายการรองรับ: โมเดล PoS ยกระดับความสามารถในการขยายการรองรับของเครือข่ายโดยทำให้ทำธุรกรรมต่อวินาทีได้มากขึ้น
● ความปลอดภัย: ด้วยการกำหนดให้ Validator ต้อง Stake ETH ของตน PoS จึงลดแรงจูงใจทางการเงินสำหรับพฤติกรรมที่ประสงค์ร้าย ซึ่งช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับเครือข่าย
กรณีการนำไปใช้งานที่เป็นไปได้สำหรับ Ethereum มีอะไรบ้าง
Ethereum ในฐานะแพลตฟอร์มบล็อกเชนบุกเบิก เปิดโอกาสให้มีความเป็นไปได้มากมายนอกเหนือไปจากธุรกรรมทางการเงินธรรมดาๆ ทั่วไป สถาปัตยกรรมที่แข็งแกร่งรองรับการสร้างแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ (DApp) บนเครือข่ายบล็อกเชนที่ปลอดภัยและโปร่งใส DApp เหล่านี้ใช้ขีดความสามารถของ Ethereum เพื่อให้บริการที่หลากหลาย เสริมความแข็งแกร่งในฐานะแพลตฟอร์มที่มีความอเนกประสงค์ในเซกเตอร์บล็อกเชนและคริปโทเคอร์เรนซี
Decentralized Finance (DeFi) และเครื่องมือทางการเงิน
กรณีการนำไปใช้งานที่โดดเด่นที่สุดประการหนึ่งของ Ethereum อยู่ในด้านของ Decentralized Finance (DeFi) โดย DeFi ใช้ Smart Contract ซึ่งเป็นสัญญาที่ดำเนินการด้วยตนเองโดยมีเงื่อนไขของข้อตกลงที่เขียนลงไปใน Code โดยตรง เพื่อสร้างเครื่องมือทางการเงินที่ซับซ้อนโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางทางการเงินแบบดั้งเดิม ซึ่งรวมไปถึงบริการต่างๆ เช่น แพลตฟอร์มการให้กู้ยืม, Yield Farming และแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Exchange: DEX) ที่ให้ผู้ใช้สามารถเทรดสินทรัพย์ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาหน่วยงานตัวกลาง ด้วยการใช้ประโยชน์จาก Smart Contract ของ Ethereum แพลตฟอร์ม DeFi จึงนำเสนอระบบการเงินที่เปิดกว้าง เข้าถึงได้ และโปร่งใสมากขึ้น
แพลตฟอร์ม DeFi เช่น MakerDAO ใช้ Smart Contract ของ Ethereum เพื่อเสนอบริการต่างๆ เช่น การกู้ยืมและการให้กู้ยืมแบบกระจายศูนย์ ผู้ใช้สามารถให้กู้ยืมโทเค็น Ethereum ของตนแล้วรับดอกเบี้ยหรือกู้ยืมจากการใช้ยอดถือครองของตนได้
ตัวตนดิจิทัลและธุรกรรมที่ปลอดภัย
Ethereum ยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโซลูชันตัวตนดิจิทัล ด้วยการสร้างข้อมูลตัวตนแบบกระจายศูนย์ ผู้ใช้จะสามารถควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลของตนได้มากขึ้น การนำไปใช้งานเช่นนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งในธุรกรรมและบริการออนไลน์ที่จำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตน บล็อกเชนของ Ethereum ช่วยให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลจะยังคงปลอดภัยและป้องกันการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ช่วยยกระดับความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในพื้นที่ดิจิทัล
การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
ในภาคส่วนการจัดการห่วงโซ่อุปทาน บล็อกเชนของ Ethereum นำเสนอระดับความโปร่งใสและตรวจสอบย้อนกลับอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ด้วยการบันทึกแต่ละขั้นตอนของเส้นทางของผลิตภัณฑ์ไว้บนบล็อกเชน ทำให้สามารถติดตามแหล่งที่มาและการจัดการสินค้าได้ ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการจัดส่งขั้นสุดท้าย การนำไปใช้งานเช่นนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่ความเป็นของแท้และการจัดหาอย่างมีจริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญ เช่น ในเซกเตอร์อาหารและยา
Non-Fungible Token (NFT)
การสร้างและการเทรด Non-Fungible Token (NFT) ได้กลายมาเป็นกรณีการใช้งานที่สำคัญสำหรับ Ethereum โดย NFT นั้นเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถแสดงถึงความเป็นเจ้าของและความเป็นของแท้ (Authenticity) ของรายการต่างๆ ได้มากมาย ซึ่งรวมไปถึงงานศิลปะ เพลง และของสะสม บล็อกเชนของ Ethereum ช่วยให้มั่นใจได้ว่า NFT แต่ละชิ้นนั้นไม่ซ้ำใครและไม่สามารถทำซ้ำได้ ซึ่งเป็นวิธีใหม่สำหรับครีเอเตอร์และผู้สะสมในการโต้ตอบกันในโลกดิจิทัล
CryptoKitties เป็นหนึ่งในโปรเจกต์ NFT แรกๆ ที่ให้ผู้ใช้ซื้อ เก็บสะสม และเพาะพันธุ์แมวดิจิทัลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้ โดยแมวแต่ละตัวจะแสดงเป็น NFT บนบล็อกเชน Ethereum ในทำนองเดียวกัน แพลตฟอร์มอย่าง OpenSea ได้ก้าวขึ้นมาเป็นตลาดสำหรับเทรด NFT รูปแบบต่างๆ ตั้งแต่งานศิลปะดิจิทัลไปจนถึงอสังหาริมทรัพย์เสมือน ซึ่งทั้งหมดล้วนนี้ใช้เทคโนโลยีของ Ethereum
โทเค็น Ether (ETH) คืออะไร
Ether (ETH) เป็นคริปโทเคอร์เรนซีหลักของบล็อกเชน Ethereum ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบว่าเป็นเชื้อเพลิงดิจิทัลที่ขับเคลื่อนเครือข่าย โดยนำไปใช้งานในกิจกรรมต่างๆ ภายใน Ethereum เช่น การรัน Smart Contract และแอปกระจายศูนย์ (DApp) การจัดเก็บมูลค่า และการชำระเงินแบบ Peer-to-Peer อีกทั้ง Ether ยังเทรดกันอย่างกว้างขวางบนแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีมากมาย ซึ่งก็รวมไปถึง Bitget ด้วยเช่นกัน
เครือข่าย Ethereum จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรการประมวลผลเพื่อดำเนินงาน เมื่อใดก็ตามที่มีคนทำธุรกรรมหรือเปิดใช้งาน Smart Contract ก็จะต้องชำระค่าธรรมเนียมเป็น Ether หรือที่เรียกว่า “Gas” ค่าธรรมเนียม Gas นี้เป็นการตอบแทนให้กับกำลังการประมวลผลที่ Node ของเครือข่ายใช้ พร้อมช่วยให้มั่นใจได้ว่าเครือข่ายจะดำเนินงานได้อย่างราบรื่นและป้องกันการใช้งานในทางที่ผิดหรือสแปม ระบบนี้ทำให้ Ether เป็นส่วนสำคัญของฟังก์ชันการทำงานและความปลอดภัยของ Ethereum
Ethereum 2.0 คืออะไร
Ethereum 2.0 แสดงถึงวิวัฒนาการที่สำคัญของบล็อกเชน Ethereum ดั้งเดิม ซึ่งออกแบบมาเพื่อยกระดับเครือข่ายอย่างมีนัยสำคัญใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ ความสามารถในการขยายการรองรับ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การอัปเกรดนี้ประเดิมด้วยเฟสเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2020 ด้วยการเปิดตัว Beacon Chain ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับ Ethereum
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งใน Ethereum 2.0 คือการเปลี่ยนผ่านจากกลไกฉันทามติ Proof of Work (PoW) ไปเป็น Proof of Stake (PoS) การเปลี่ยนผ่านนี้มีความสำคัญยิ่งเนื่องจากจะช่วยลดการใช้พลังงานของเครือข่ายลงได้อย่างมหาศาล ทำให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และเพิ่มความปลอดภัยต่อการโจมตีทางไซเบอร์ประเภทต่างๆ
องค์ประกอบหลักของ Ethereum 2.0 คือการนำ “Sharding” มาใช้งาน โดย Sharding นั้นเป็นการแบ่งบล็อกเชน Ethereum ออกเป็นส่วนย่อยๆ หลายๆ ส่วนที่เรียกว่า “Shard” แต่ละ Shard สามารถจัดการกับธุรกรรมและ Smart Contract ได้อย่างเป็นอิสระ ซึ่งเป็นข้อแตกต่างที่สำคัญจากรูปแบบของ Ethereum ดั้งเดิมที่ทุกธุรกรรมต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องทั่วทั้งเครือข่าย Sharding ช่วยให้ประมวลผลธุรกรรมได้เร็วขึ้นมาก ทั้งยังเพิ่มความเร็วและประสิทธิภาพของเครือข่ายด้วย
นอกจากนี้ Ethereum 2.0 วางแผนที่จะนำ eWASM (Ethereum WebAssembly) มาใช้ ซึ่งวางเป้าหมายมาให้แทนที่ Ethereum Virtual Machine (EVM) โดยที่ eWASM นั้นช่วยให้ดำเนินการ Code ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพของเครือข่ายให้เต็มขั้น การอัปเกรดยังผสานการทำงาน Crosslink เอาไว้ด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์ในการจัดการ Shard Chain เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ
อะไรทำให้ Ethereum มีมูลค่า
Ethereum โดดเด่นในโลกอันกว้างใหญ่ของคริปโทเคอร์เรนซีเนื่องจากมีฟีเจอร์ที่เป็นเอกลักษณ์และทรงพลัง โดยแก่นแท้แล้ว Ethereum ออกแบบมาให้เป็นมากกว่าเพียงสกุลเงินดิจิทัล เป้าหมายหลักตามที่ระบุไว้ใน Whitepaper คือการทำให้มีโปรโตคอลใหม่สำหรับการสร้างแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ (DApp) แอปพลิเคชันเหล่านี้ไม่ได้ถูกควบคุมโดยใครคนใดคนหนึ่ง จึงให้ความปลอดภัยในระดับสูงและมีศักยภาพในการขยายการรองรับ
องค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ Ethereum มีความพิเศษคือการใช้ Smart Contract โดย Smart Contract นั้นเป็นสัญญาที่ดำเนินการเองได้ ซึ่งมีการเขียนข้อกำหนดลงไปใน Code โดยตรง ดำเนินการข้อกำหนดของสัญญาโดยอัตโนมัติและบังคับใช้ ทำให้ลดความเสี่ยงของการฉ้อโกงหรือการแทรกแซงของบุคคลที่สาม เทคโนโลยีนี้เปิดโลกแห่งความเป็นไปได้มากมายสำหรับนักพัฒนา ทำให้สามารถสร้างแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ที่หลากหลายได้ซึ่งมีการนำไปใช้งานในโลกความเป็นจริง
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งของ Ethereum คือความง่ายในการสร้างสกุลเงินดิจิทัลที่เรียกว่า “โทเค็น” บนเครือข่ายได้โดยไม่ต้องมีความรู้ด้านบล็อกเชนที่ครอบคลุม โทเค็นที่รู้จักกันดีมากมายก็เช่น ChainLink (LINK), Basic Attention Token (BAT) และ VeChain (VET) นั้นเริ่มต้นบน Ethereum ก่อนที่จะย้ายไปยังบล็อกเชน ของตน มาตรฐาน ERC-20 และ ERC-721 ของ Ethereum ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างโทเค็นได้อย่างง่ายดาย ทั้ง Fungible และ Non-Fungible Token เป็นการส่งเสริมนวัตกรรมในเซกเตอร์ต่างๆ
ยิ่งไปกว่านั้น มูลค่าของ Ethereum ยังได้รับการยกระดับโดยชุมชนนักพัฒนาขนาดใหญ่และกระตือรือร้น ซึ่งขับเคลื่อนนวัตกรรมและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ความสามารถในการทำงานร่วมกันของแพลตฟอร์มช่วยให้สามารถผสานการทำงานเข้ากับบล็อกเชนและบริการแบบกระจายศูนย์อื่นๆ ได้อย่างราบรื่นไม่มีสะดุด ทำให้เป็นรากฐานสำคัญของการเคลื่อนไหวทาง Decentralized Finance (DeFi) Ethereum รองรับผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย เช่น แพลตฟอร์มการให้กู้ยืม, Stablecoin และแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Exchange) ซึ่งทำให้มีสถานะที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในฐานะองค์ประกอบสำคัญของอินเทอร์เน็ตแบบกระจายศูนย์
บทความที่เกี่ยวข้องกับ Ethereum
Ethereum คืออะไร เหตุใดจึงสามารถก้าวขึ้นเป็นบล็อกเชนที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 รองจากเครือข่าย Bitcoin ได้
มูลค่าและราคาของ Ethereum (ตอนที่ 1)
มูลค่าและราคาของ Ethereum (ตอนที่ 2)
การเปลี่ยนแปลงราคาของ Ethereum ใน USD
ประวัติราคา Ethereum ใน USD
ข้อมูลตลาดของ Ethereum
ETH เป็นสกุลเงินท้องถิ่น
เครื่องคำนวณคริปโต- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
วิธีซื้อ Ethereum(ETH)
สร้างบัญชี Bitget ของคุณแบบฟรีๆ
ยืนยันบัญชีของคุณ
ซื้อ Ethereum (ETH)
เทรด ETH Perpetual Futures
หลังจากทำการสมัครบน Bitget และซื้อ USDT หรือโทเค็น ETH สำเร็จแล้ว คุณสามารถเริ่มเทรดอนุพันธ์ รวมถึง ETH Futures และการเทรด Margin เพื่อเพิ่มรายได้ของคุณได้เลย
ราคาปัจจุบันของ ETH คือ $3,342.52 โดยมีการเปลี่ยนแปลงราคา 24 ชั่วโมงอยู่ที่ -0.87% นักเทรดสามารถทำกำไรได้จากการเปิด Long หรือ Short ใน ETH Futures
Social Data ของ Ethereum
ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา คะแนนความเชื่อมั่นบนโซเชียลมีเดียสำหรับ Ethereum อยู่ที่ 3.2 และความเชื่อมั่นบนโซเชียลมีเดียต่อเทรนด์ราคาของ Ethereum มีลักษณะ Bullish ทั้งนี้ คะแนนโซเชียลมีเดียโดยรวมของ Ethereum อยู่ที่ 234,519,440 ซึ่งถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 3 จากบรรดาคริปโทเคอร์เรนซีทั้งหมด
จากข้อมูลของ LunarCrush ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีการกล่าวถึงคริปโทเคอร์เรนซีบนโซเชียลมีเดียทั้งหมด ครั้ง โดย Ethereum ได้รับการกล่าวถึงด้วยอัตราความถี่ 16.34% ซึ่งถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 2 จากบรรดาคริปโทเคอร์เรนซีทั้งหมด
ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีผู้ใช้ที่ไม่ซ้ำกันทั้งหมด 394,780 รายที่พูดคุยเกี่ยวกับ Ethereum โดยมีการกล่าวถึง Ethereum ทั้งหมด 172,877 ครั้ง อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 24 ชั่วโมงก่อนหน้านี้ พบว่าจำนวนผู้ใช้ที่ไม่ซ้ำกัน เพิ่มขึ้น ถึง 4% และจำนวนการกล่าวถึงทั้งหมด เพิ่มขึ้น ถึง 20%
บน Twitter มี Tweet ที่กล่าวถึง Ethereum ทั้งหมด 6597 รายการในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา โดยใน Tweet ดังกล่าว มี 30% กำลัง Bullish กับ Ethereum, 9% กำลัง Bearish กับ Ethereum และ 60% อยู่ในสภาวะเป็นกลางกับ Ethereum
ใน Reddit มี 2118 โพสต์ที่กล่าวถึง Ethereum ใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับช่วง 24 ชั่วโมงก่อนหน้า จำนวนการกล่าวถึงลดลงถึง 8%
ภาพรวมโซเชียลทั้งหมด
3.2