DeFi พุ่งแรง: โอกาสและโปรเจกต์ที่น่าจับตามอง
โทเค็น DeFi อย่าง COMP, MKR และ AAVE พุ่งขึ้น 50%, 47% และ 29% ตามลำดับไปเมื่อเร็วๆ นี้ นอกเหนือจากจะช่วยให้ทั้งตลาดคริปโตขยับขึ้นแล้ว ยังจุดประกายให้เกิดการพูดคุยกันอย่างคึกคักในชุมชนด้วยเกี่ยวกับ DeFi Summer ที่อาจเกิดขึ้น อีกทั้งการที่เหรียญต่างๆ เหล่านี้พุ่งขึ้นนั้นก็สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจและความสนใจที่เพิ่มขึ้นของตลาดใน DeFi ทำให้กลายเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ร้อนแรงที่สุดในโลกคริปโต
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความกระจ่างเกี่ยวกับศักยภาพและโอกาสในเซกเตอร์ DeFi โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะกล่าวถึงว่า DeFi คืออะไร ประเมินว่าการพุ่งขึ้นของโทเค็นยอดนิยมอย่าง COMP จะจุดประกายตลาดกระทิงเล็กๆ ได้หรือไม่ และชี้ถึงจุดเด่นของโปรเจกต์ DeFi ที่น่าจับตามอง
DeFi คืออะไร
DeFi ย่อมาจาก Decentralized Finance (ระบบการเงินแบบกระจายศูนย์) เป็นหนึ่งในเซกเตอร์ที่ร้อนแรงที่สุดในอุตสาหกรรมคริปโตในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา DeFi เป็นบริการทางการเงินบนบล็อกเชนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความเปิดกว้าง ความโปร่งใส และการเข้าถึงที่มากขึ้น โดยกำจัดตัวกลางในการเงินแบบดั้งเดิมออกไป และทำให้การทำธุรกรรม On-Chain เป็นไปโดยอัตโนมัติผ่าน Smart Contract และโปรโตคอลแบบกระจายศูนย์ บริการทางการเงินที่มีอยู่ในแอป DeFi ต่างๆ ในปัจจุบันมีทั้งการให้กู้ยืม การเทรด การลงทุน ไปจนถึงการประกันภัย
DeFi ทำงานอย่างไร
DeFi หมายถึงบริการ Decentralized Finance ที่สร้างขึ้นบนเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งดำเนินงานแตกต่างจากการเงินแบบดั้งเดิมเป็นอย่างมาก แอป DeFi ต่างๆ มักใช้ Smart Contract และโปรโตคอลแบบกระจายศูนย์เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมและบริการทางการเงิน สัญญาและโปรโตคอลเหล่านี้มีการตั้งเงื่อนไขและนำไปใช้งานบนบล็อกเชนโดยบรรดานักพัฒนา และสามารถดำเนินการตรรกะและกฎที่กำหนดไว้ล่วงหน้าได้โดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องมีการแทรกแซงจากมนุษย์
ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแอปแบบกระจายศูนย์ได้ผ่าน Wallet ดิจิทัล ทำให้สามารถเทรด ให้ยืม กู้ยืม และลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลได้ โดยทั่วไปแล้ว สินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้มักเป็น Ethereum และคริปโทเคอร์เรนซีอื่นๆ ที่เก็บไว้ใน Wallet ดิจิทัลของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการและฟีเจอร์ทางการเงินเหล่านี้ได้ผ่านโปรโตคอล DeFi ต่างๆ ลักษณะแบบกระจายศูนย์ของแอป DeFi หมายความว่าแอปจะดำเนินงานโดยไม่มีหน่วยงานกลางในการกำกับดูแล แต่จะมีการจัดการและบำรุงรักษาโดยการลงแรงร่วมกันของชุมชน
ข้อดีของ DeFi
ระบบการเงินแบบดั้งเดิมอาศัยสถาบันแบบรวมศูนย์ เช่น ธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัท Futures เพื่อรับประกันและจัดการธุรกรรม อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้มักนำไปสู่ต้นทุนที่สูง ความไร้ประสิทธิภาพ และการขาดความโปร่งใส ในทางตรงกันข้าม DeFi มีลักษณะกระจายศูนย์ โปร่งใส และเปิดเผยอย่างเต็มที่
การกระจายศูนย์: DeFi มีลักษณะกระจายศูนย์อย่างสมบูรณ์ ซึ่งหมายความว่าไม่มีสถาบันแบบรวมศูนย์หรือบุคคลกลางเพียงแห่งเดียวหรือคนเดียวที่สามารถควบคุมสินทรัพย์หรือข้อมูลได้ จึงทำให้มีความปลอดภัยและโปร่งใสยิ่งขึ้น เนื่องจากไม่มีจุดอ่อนเพียงจุดเดียว (Single Point of Vulnerability)
ความโปร่งใส: ธุรกรรมและสัญญา DeFi เปิดเผยต่อสาธารณะโดยสมบูรณ์ ทุกคนสามารถเข้าไปดูและตรวจสอบได้ ความโปร่งใสระดับสูงนี้ช่วยเพิ่มความไว้วางใจขึ้นและลดความเสี่ยงในการลงทุนลง
การเข้าถึง: รูปแบบการไม่ต้องอาศัยการอนุญาต (Permissionless) ของ DeFi หมายความว่าทุกคนสามารถเข้าร่วมและเข้าสู่เซกเตอร์นี้ได้อย่างเสรี ซึ่งจะช่วยลดความยากจนและความไม่เท่าเทียมกันลงด้วยการทำให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ในราคาที่สามารถจ่ายได้
ความสามารถในการทำงานร่วมกัน: โปรโตคอล DeFi ออกแบบมาให้มีขีดความสามารถในการทำงานร่วมกัน จึงช่วยให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ซับซ้อนได้ เช่น การสร้างบล็อก
อีกทั้งผู้ใช้ยังสามารถโอนสินทรัพย์ดิจิทัลของตนได้อย่างอิสระระหว่างโปรโตคอลต่างๆ โดยไม่ต้องไปเทรดผ่านแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนแบบรวมศูนย์ (Centralized Exchange) หรือธนาคาร
ไม่ต้องอาศัยความไว้วางใจ (Trustless): โปรโตคอล DeFi ดำเนินงานบน Smart Contract ซึ่งทำให้สามารถดำเนินการโดยอัตโนมัติได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการแทรกแซงจากมนุษย์ รูปแบบการไม่ต้องอาศัยความไว้วางใจ (Trustless) นี้จะเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการทำธุรกรรม
แม้จะมีข้อดีหลายประการ แต่ DeFi ก็มีความเสี่ยงอยู่ด้วย ประการแรก ลักษณะที่เปิดกว้างของ DeFi ทำให้เสี่ยงต่อการโจมตีและการกระทำที่ประสงค์ร้าย ประการต่อมา โปรโตคอล DeFi ซึ่งใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ถูกจำกัดด้วยความเร็วและความสามารถในการรับส่งข้อมูล (Throughput) ในการยืนยันธุรกรรมของบล็อกเชนที่ใช้งานอยู่ ประการสุดท้าย เนื่องด้วย DeFi คือแนวคิดเกิดใหม่ จึงยังคงขาดกรอบการกำกับดูแลที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ซึ่งนำไปสู่ความไม่แน่นอนในด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
กรณีการนำ DeFi ไปใช้งาน
ในภูมิภาคและประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมาก ประชากรส่วนใหญ่ยังคงขาดการเข้าถึงบริการทางการเงินแบบดั้งเดิมอยู่ เช่น เงินฝาก สินเชื่อ และประกันภัย DeFi สามารถก้าวเข้ามาให้บริการทางการเงินที่เข้าถึงได้ สะดวก และคุ้มต้นทุนยิ่งขึ้นได้ ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล DeFi นำเสนอวิธีการจัดการและการเทรดสินทรัพย์ดิจิทัลที่ปลอดภัย โปร่งใส และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินมีความหลากหลายมากขึ้น ตลอดจนมีโซลูชันที่สะดวกและคุ้มค่า ต่อไปนี้คือกรณีหลักๆ ของการนำ DeFi ไปใช้งาน:
การกู้ยืม: โปรโตคอลการให้กู้ยืมแบบกระจายศูนย์ช่วยให้ผู้ใช้สามารถให้ยืมและกู้ยืมโดยไม่จำเป็นต้องใช้ตัวกลางจากส่วนกลาง สิ่งนี้ไม่เพียงช่วยให้มีอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่ถูกลงเท่านั้น แต่ยังเข้าถึงได้มากขึ้นด้วย
การเทรด: โปรโตคอลการเทรดแบบกระจายศูนย์ทำให้ผู้ใช้สามารถเทรดได้โดยไม่ต้องมีแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนแบบรวมศูนย์ (Centralized Exchange) สิ่งนี้ช่วยเพิ่มสภาพคล่องและลดต้นทุนการทำธุรกรรม
Stablecoin: DeFi รองรับการออก Stablecoin ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลประเภทหนึ่งที่ตรึงมูลค่าไว้กับสินทรัพย์อื่นๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคา Stablecoin ทำหน้าที่ชดเชยความผันผวนของราคาคริปโทเคอร์เรนซี รวมถึงใช้ในการชำระเงินและโอนเงินข้ามพรมแดน
ประกันภัย: โปรโตคอลการประกันภัยแบบกระจายศูนย์ช่วยให้ผู้ใช้สามารถซื้อแผนประกันภัยได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้บริษัทประกันภัยแบบดั้งเดิม สิ่งนี้นำไปสู่ค่าเบี้ยประกันที่ลดลง ความโปร่งใสที่เพิ่มขึ้น และการเข้าถึงที่มากขึ้น
Prediction Market: Prediction Market แบบกระจายศูนย์ทำให้ผู้ใช้สามารถคาดการณ์และวางเดิมพันในเหตุการณ์ต่างๆ ได้ สิ่งนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสของตลาดได้
อนุพันธ์ทางการเงิน: สินทรัพย์สังเคราะห์, สัญญา Futures, Options (สัญญาสิทธิ), ผลิตภัณฑ์เลเวอเรจ และอนุพันธ์อื่นๆ ช่วยให้ผู้ใช้จัดการความเสี่ยง ใช้ประโยชน์จากโอกาสในตลาด และเพิ่มผลตอบแทนให้ดีขึ้นได้
โปรเจกต์ DeFi ที่น่าจับตามอง
Compound
Compound เป็นแพลตฟอร์มการให้กู้ยืมแบบกระจายศูนย์ที่ทำให้สามารถจัดการสินทรัพย์และธุรกรรมการให้กู้ยืมโดยอัตโนมัติได้ผ่าน Smart Contract ผู้ใช้จะฝากคริปโทเคอร์เรนซีเข้าไปในโปรโตคอล Compound เพื่อกู้ยืมคริปโทเคอร์เรนซีอื่นๆ เช่น DAI และ USDC ส่วนผู้กู้ยืมก็จำเป็นต้องนำหลักประกันมาวางไว้ตามจำนวนที่กำหนดเพื่อให้สามารถกู้ยืมสินทรัพย์ที่ต้องการได้ หากมูลค่าหลักประกันลดลงในช่วงระยะเวลาการกู้ยืม ผู้กู้ยืมจะต้องเพิ่มหลักประกันหรือชำระคืนเงินกู้ นอกจากนี้ Compound ยังมีกลไกในการรับดอกเบี้ยจากคริปโทเคอร์เรนซีที่ฝากไว้อีกด้วย
เทรด COMP บน Bitget เลย
Uniswap
Uniswap เป็นโปรโตคอลการเทรด DeFi ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง มีชื่อเสียงในเรื่อง Automated Market Maker (AMM) ที่ล้ำนวัตกรรม ซึ่งใช้ในการกำหนดราคา อัลกอริทึมนี้จะคำนวณราคาตามอัตราส่วนของคริปโทเคอร์เรนซีใน Pool สินทรัพย์ ทำให้ราคาสามารถปรับไปมาได้โดยอัตโนมัติตามอุปสงค์และอุปทาน ไม่จำเป็นต้องมีระบบจับคู่แบบรวมศูนย์ในการแลกเปลี่ยนโทเค็น จึงช่วยให้เทรดได้อย่างง่ายดาย รวดเร็ว และโปร่งใส Uniswap โดดเด่นด้วยการกระจายศูนย์ ต้นทุนการเข้าใช้งานต่ำ และสภาพคล่องสูง ทุกคนสามารถใส่สินทรัพย์ลงใน Pool ได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องและประสิทธิภาพการทำธุรกรรม
เทรด UNI บน Bitget เลย
AAVE
AAVE เป็นโปรโตคอลการให้กู้ยืมแบบกระจายศูนย์ที่ออกแบบมาเพื่อมอบประสบการณ์การกู้ยืมที่ยืดหยุ่นและโปร่งใสมากขึ้น ผู้ใช้สามารถฝากคริปโทเคอร์เรนซีเข้ามาในโปรโตคอลเพื่อกู้ยืมคริปโทเคอร์เรนซีอื่นๆ ได้ สิ่งที่ทำให้ AAVE แตกต่างคือการช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกโมเดลเงินกู้รูปแบบต่างๆ ได้ ซึ่งรวมไปถึงเงินกู้ดอกเบี้ยคงที่และลอยตัว ผู้ใช้จึงจัดการทั้งความเสี่ยงและผลตอบแทนได้ดีขึ้น อีกทั้งยังเลือกแผนการกู้ยืมที่เหมาะกับความต้องการของตนที่สุดได้ด้วย อีกฟีเจอร์ที่โดดเด่นของ AAVE คือ Flash Loan ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถกู้ยืมได้ทันทีโดยไม่ต้องวางหลักประกันใดๆ ด้วยความเร็วการทำธุรกรรมที่สูง Flash Loan นี้มักใช้กับการทำ Arbitrage และการจัดการสภาพคล่อง
เทรด AAVE บน Bitget เลย
Lido DAO
Lido DAO เป็นองค์กรแบบกระจายศูนย์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานและบริการสำหรับ Validator ของ Ethereum 2.0 และบล็อกเชน PoS อื่นๆ เช่น Solana (SOL) และ Polygon (MATIC) โดยมี LDO เป็นโทเค็นการกำกับดูแลของ Lido DAO ซึ่งให้สิทธิ์แก่ผู้ถือในการเข้าร่วมกระบวนการตัดสินใจและการโหวต ผู้ถือสามารถโหวตเห็นชอบหรือคัดค้านข้อเสนอได้เพื่อกำหนดอนาคตของ Lido DAO
เทรด LDO บน Bitget เลย
MakerDAO
MakerDAO เป็นองค์กรอัตโนมัติแบบกระจายศูนย์ที่ออก Stablecoin และให้บริการ Decentralized Finance โดยมี MKR เป็นโทเค็นการกำกับดูแลของ MakerDAO ซึ่งให้สิทธิ์แก่ผู้ถือในการเข้าร่วมการกำกับดูแลของ DAO ผู้ถือสามารถโหวตเห็นชอบหรือคัดค้านข้อเสนอได้เพื่อกำหนดอนาคตของ MakerDAO การมีอุปทานที่จำกัดทำให้ MKR มีความขาดแคลน (Scarcity) และมีมูลค่า โดยอุปทานของ MKR นั้นขึ้นอยู่กับความพร้อมใช้งานของเงินกู้และหลักประกันในระบบ หากมูลค่าของหลักประกันลดลงหรือมีความเสี่ยงในระบบ โทเค็น MKR บางส่วนก็จะถูก Burn เพื่อลดอุปทานโดยรวมลง
เทรด MKR บน Bitget เลย
บทสรุป
DeFi มีสถานะที่สำคัญในอุตสาหกรรมคริปโตและคู่ควรที่จะได้รับความสนใจจากนักลงทุน เพราะช่วยให้เกิดระบบ Decentralized Finance จากการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งให้ข้อดีและมีกรณีการนำไปใช้งานมากมาย ขณะเดียวกันก็ขับเคลื่อนเทคโนโลยีบล็อกเชนสู่กระแสหลัก อย่างไรก็ตาม DeFi ก็มีความเสี่ยงและความท้าทายในแบบฉบับของตัวเองเช่นกัน ซึ่งเราต้องให้ความสนใจและใส่ใจกันต่อไป
หากไม่ได้เป็น Bitgetter สมัครเพื่อเริ่มต้นการเดินทางของคุณสู่โลกคริปโตได้เลย!
ข้อสงวนสิทธิ์: ความคิดเห็นที่อยู่ในบทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น บทความนี้ไม่ใช่การสนับสนุนผลิตภัณฑ์และบริการใดๆ ที่ได้มีการเอ่ยถึง รวมถึงไม่ใช่คำแนะนำด้านการลงทุน การเงิน หรือการเทรด ขอแนะนำให้คุณปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการรับรองก่อนทำการตัดสินใจใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน
- วิธีถอนโทเค็น CATS จาก Telegram แล้วฝากเข้า Bitget2024-10-01 | 5m
- ฝาก CATI เข้า Bitget ไร้ค่า Gas2024-09-14 | 5m