PLX
PLEXUS is a cross-chain aggregator service for mass adoption of blockchain.
ICO ที่กำลังมาแรง
ข่าวล่าสุด
โปรเจกต์ที่กำลังมาแรง
คำถามที่พบบ่อย
ICO คืออะไร
Initial Coin Offering (ICO) เป็นวิธีการยอดนิยมในการระดมทุนสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ โดยแม้ว่า ICO จะคล้ายกับการออกเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) แต่เหรียญที่ออกผ่าน ICO นั้นก็สามารถที่จะมีประโยชน์ใช้สอยสำหรับบริการหรือผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ได้ด้วย โดย ICO บางรายการยังสามารถให้ผลตอบแทนแก่นักลงทุนได้ด้วย
ICO คล้ายกับ IPO มากเท่าใด
ICO มักถูกนำไปเทียบกับการออกเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ซึ่งเป็นการออกเสนอขายหุ้นใหม่ของบริษัทเอกชน ซึ่งทั้ง ICO และ IPO ก็ต่างช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถระดมทุนได้ อย่างไรก็ตาม ข้อแตกต่างหลักของ ICO และ IPO คือการที่ IPO เป็นการขายหลักทรัพย์และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่เข้มงวดกว่ามาก
IPO แตกต่างจาก ICO อย่างไร
การทำ ICO คือการเข้า (Entry) ในขณะที่การทำ IPO คือการออก (Exit) กล่าวคือ ในการทำ ICO นั้น บริษัทสตาร์ทอัพพยายามขายแนวคิดโปรเจกต์/ผลิตภัณฑ์หรือต้นแบบอย่างหนึ่ง และก็ทำการเข้าสู่ตลาด ในขณะที่การทำ IPO คือการที่บริษัทเอกชนที่จัดตั้งอยู่ตัวแล้วมุ่งจะขยายกิจการด้วยการลดสัดส่วนความเป็นเจ้าของของตนให้บุคคลทั่วไปเข้ามาถือหุ้นด้วยได้
ประวัติของ ICO เป็นอย่างไร
ทุกอย่างเริ่มต้นขึ้นในปี 2013 เมื่อวิศวกรซอฟต์แวร์ชื่อ J.R. Willett เขียน Whitepaper ชื่อ “Bitcoin Whitepaper ฉบับที่ 2 (The Second Bitcoin Whitepaper)” สำหรับ MasterCoin (ซึ่งในภายหลังได้รีแบรนด์เป็น Omni Layer) และได้ระดมทุนเป็นจำนวน US$600,000 แก่โปรเจกต์ ภายในปี 2014 มีโปรเจกต์จำนวน 7 โปรเจกต์สามารถระดมทุนได้รวมกันทั้งหมดถึง 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งโปรเจกต์ที่ใหญ่ที่สุดในปีนั้นคือ Ethereum ซึ่งได้ระดมทุนกว่า 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยการขาย 50 ล้าน ETH แก่ประชาชน ขณะที่ปี 2015 นั้นเงียบลง มี ICO 7 รายการระดมทุนได้รวมกันทั้งหมด 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีรายการใหญ่ที่สุดคือ Augur ได้ไปเพียง 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐเศษ ตลาดเริ่มมีความคึกคักอีกครั้งในปี 2016 เมื่อ ICO 43 รายการ ซึ่งรวมถึง Waves, Iconomi, Golem และ Lisk สามารถระดมทุนได้ถึง 256 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในช่วงเวลานี้เองที่โปรเจกต์ DAO กองทุนเพื่อการลงทุนอัตโนมัติซึ่งมุ่งจะเสริมสร้างการพัฒนาระบบนิเวศ Ethereum ด้วยการทำให้นักลงทุนสามารถโหวตว่าจะให้ทุนแก่โปรเจกต์อะไรบ้าง ก็ได้ทำการเปิดตัว ICO ของตน ไม่นานหลังจากการขายในรายการดังกล่าวได้ระดมทุนทำสถิติใหม่ถึง 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็มีแฮ็กเกอร์สามารถลักเอา ETH ไปเป็นมูลค่าประมาณ 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทำให้โปรเจกต์ดังกล่าวล่มสลายและเกิดเป็น Hard Fork ของโปรโตคอล Ethereum ทีเดียว ซึ่งความล้มเหลวของ DAO นั้นก็ไม่ได้ทำให้ความกระตือรือร้นที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในวงการสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งเพิ่งเริ่มต้นขึ้นนั้นลดลงแต่อย่างใด โดยในเดือนธันวาคม กองทุนเจ้าแรกที่มุ่งลงทุนใน ICO โดยเฉพาะนั้นได้รับการสนับสนุนอย่างมีนัยสำคัญจากธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital: VC) เจ้าเก๋าในวงการ ในปี 2017 ตลาดมีแรงผลักดันจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่ง และได้มีการทำ ICO ในระดับที่สูงเป็นประวัติการณ์ใหม่ โดยมี ICO 342 รายการ ระดมทุนได้ถึงประมาณ 5.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และผลักให้แนวคิดดังกล่าวก้าวเข้ามาอยู่ในระดับแถวหน้าของวงการนวัตกรรมบล็อกเชน
Initial Coin Offering (ICO) มีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง
เนื่องจาก ICO นั้นไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลหลักทรัพย์ การที่ไม่มีข้อกำหนดด้านการเปิดเผยข้อมูลก็อาจทำให้ความสามารถของคุณในการประเมินการออกเสนอขายดังกล่าวนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายนัก และอาจเป็นการยาก หรือเป็นไปไม่ได้เลยด้วยซ้ำที่จะได้ทราบวัตถุประสงค์ของ ICO อย่างชัดเจนก่อนการลงทุน