ย้อนดูการร่วงของราคา Bitcoin: เมื่อใดจึงเป็นเวลาที่เหมาะสมในการซื้อ
สรุปใจความสำคัญ
-
Bitcoin ซึ่งเป็นคริปโทเคอร์เรนซีชั้นนำของโลกเมื่อพิจารณาจากมูลค่าตามราคาตลาด ได้ประสบปัญหาราคาร่วงลงหลายครั้ง แต่ก็สามารถข้ามหุบเหวแห่งความตายไปได้ทุกครั้ง
-
ในขณะที่ราคาของ Bitcoin ประสบกับความถดถอยชั่วคราวในแต่ละเหตุการณ์ ตลาดก็กลับมามีเสถียรภาพได้ในที่สุด และคริปโทเคอร์เรนซีนี้ก็มีการใช้งานและการยอมรับอย่างกว้างขวาง
ในช่วงชีวิตที่ค่อนข้างสั้นเพียง 14 ปี Bitcoin ได้ประสบกับความผันผวนของราคาอย่างมาก จนมีชื่อเสียงในลักษณะที่ผันผวนนี้ โดยการร่วงครั้งใหญ่มักตามมาด้วยราคาที่สูงเป็นประวัติการณ์ รูปแบบนี้ได้จุดประกายความอยากรู้อยากเห็นและการพิจารณาของทั้งนักลงทุนและผู้ที่ชมดูอยู่ด้านข้าง จนนำไปสู่คำถามสำคัญคือ เวลาใดดีที่สุดในการลงทุน Bitcoin เพื่อตอบคำถามข้อนี้ ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจการร่วงของตลาดในอดีตและสิ่งที่ทริกเกอร์
มิถุนายน 2011: การแฮ็ก Mt. Gox
ในปี 2011 เพียงสองปีหลังจากที่ถือกำเนิดขึ้น Bitcoin ยังคงเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่ค่อนข้างคลุมเครือ โดยผู้ใช้ในช่วงแรกเริ่มส่วนใหญ่เป็นเนิร์ดด้านเทคโนโลยีและนักเก็งกำไร การเทรด Bitcoin จะเน้นอยู่บนแพลตฟอร์มที่เรียกว่า Mt.Gox เป็นหลัก เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2011 แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนดังกล่าวประสบกับการละเมิดด้านความปลอดภัย ส่งผลให้ราคา Bitcoin ลดลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงถึง 99.9% โดยดิ่งลงจาก US$17.50 เหลือเพียง US$0.01 จนแพลตฟอร์มสั่งให้ระงับการเทรด นี่เป็นการร่วงครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ราคาของ Bitcoin โดยสาเหตุหนึ่งของการลดลงอย่างมากคือจำนวนนักลงทุน Bitcoin ที่มีค่อนข้างน้อยในขณะนั้น ส่งผลให้มีความลึกในการเทรดไม่เพียงพอ การเทขายครั้งใหญ่นำไปสู่ความผันผวนของราคาอย่างรุนแรงได้อย่างง่ายดาย
ในขณะที่ความตื่นตระหนกในตลาดค่อยๆ บรรเทาลงและกลับมาเริ่มเทรดอีกครั้งบนแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน Mt. Gox ราคาของ Bitcoin ก็รีบาวด์ขึ้นสู่ระดับก่อนหน้า
ธันวาคม 2013: การควบคุมด้านกฎระเบียบของจีน
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2013 ธนาคารกลางจีนและหน่วยงานรัฐบาลอีก 4 แห่งได้ออกประกาศจำกัดการมีส่วนร่วมของสถาบันการเงินกับ Bitcoin โดยประกาศนี้กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าห้ามไม่ให้ใช้ Bitcoin เป็นสกุลเงินในตลาดจีน และออกประกาศเพิ่มเติมให้สถาบันการชำระเงินผ่านบุคคลที่สามงดให้บริการหักบัญชีสำหรับ Bitcoin และแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีอื่นๆ ในช่วงเวลาเพียง 2 สัปดาห์หลังจากการออกประกาศ ราคาของ Bitcoin ลดลงจาก US$1,152 เป็น US$519 ซึ่งลดลงมากกว่า 50%
แต่หลังจากลงไปจนถึงจุดต่ำสุด (Bottom Out) แล้ว Bitcoin ก็รีบาวด์อย่างแรงในเวลาแค่ 1 เดือนหลังจากนั้น โดยพุ่งจาก US$519 เป็น US$869 ภายในสิ้นเดือนมกราคม 2014 ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่า 67%
กุมภาพันธ์ 2014: การล่มสลายของ Mt.Gox
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 แพลตฟอร์มเทรด Bitcoin ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น Mt.Gox ตกเป็นเหยื่อของการแฮ็กที่นำไปสู่การโจรกรรม 850,000 BTC เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นหนึ่งในการแฮ็กที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของ Bitcoin ทริกเกอร์ทำให้เกิดความตื่นตระหนกอย่างรุนแรงและเกิดเป็นวิกฤตความเชื่อมั่นในตลาด ตลาดคริปโตทั้งหมดร่วงอย่างแรงทันที และราคาของ Bitcoin ก็ลดลงอย่างรวดเร็วและอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากเหตุการณ์ Black Swan ที่ไม่คาดคิดนี้ โดยลดลงจาก US$823 เหลือ US$420 ซึ่งลดลงประมาณ 50% สุดท้าย Mt.Gox ก็ยื่นขอความคุ้มครองการล้มละลายในโตเกียวเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2014 และต่อมาได้ยื่นขอความคุ้มครองการล้มละลายภายใต้ Chapter 15 ในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 9 มีนาคม
ในเดือนถัดมา Bitcoin มีความผันผวนในช่วงราคาประมาณ US$420 พอเข้าเดือนพฤษภาคม 2014 Bitcoin ก็มีเทรนด์ขาขึ้นอีกครั้งโดยเปลี่ยนจากระดับต่ำสุดที่ US$420 เป็น US$659 ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่า 57%
มิถุนายน 2016: Ethereum Hard Fork
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2016 องค์กรอัตโนมัติแบบกระจายศูนย์ที่ชื่อว่า The DAO ตกเป็นเหยื่อของการแฮ็ก ส่งผลให้เกิดการโจรกรรม 3.6 ล้าน ETH (มูลค่าประมาณ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะนั้น) เหตุการณ์นี้ทริกเกอร์ให้เกิดการเทขายจำนวนมากในตลาดคริปโต จากเหตุการณ์นี้ ราคาของ Bitcoin ลดลงจาก US$700 เป็น US$567 ภายใน 2 สัปดาห์ ซึ่งลดลงประมาณ 20% เหตุการณ์ดังกล่าวยังทำให้เกิดการแยกสาย (Fork) ในชุมชน Ethereum เพื่อกู้คืนความสูญเสีย ชุมชนจึงตัดสินใจทำการ Hard Fork ซึ่งทำให้ ETH ที่ถูกขโมยไปเป็นโมฆะ การตัดสินใจดังกล่าวก่อให้เกิดการถกเถียงกันอย่างดุเดือด โดยบางคนโต้แย้งว่าการย้อนคืนธุรกรรมขัดต่อเจตนารมณ์การกระจายศูนย์และการไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ของบล็อกเชน ในที่สุด Ethereum ก็แยกออกเป็นสองบล็อกเชนที่แตกต่างกัน คือ Ethereum และ Ethereum Classic
สิงหาคม 2016: การแฮ็ก Bitfinex
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2016 Bitfinex ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน Bitcoin ตกเป็นเหยื่อของการแฮ็ก ส่งผลให้มีการโจรกรรมประมาณ 120,000 BTC โดยมีมูลค่าทั้งหมดประมาณ 75 ล้านเหรียญสหรัฐ เหตุการณ์นี้ถือเป็นการแฮ็กและการโจรกรรมคริปโทเคอร์เรนซีครั้งใหญ่เป็นอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์ของ Bitcoin เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกและความไม่แน่นอนในตลาดคริปโทเคอร์เรนซี ส่งผลให้ราคา Bitcoin ลดลงอย่างมากจาก US$600 เหลือประมาณ US$450 ในเวลาเพียงวันเดียว ซึ่งลดลง 25% และเป็นการลดลงในวันเดียวครั้งใหญ่ที่สุดของปีนั้น
ในช่วงเวลาสั้นๆ เพียง 2 เดือน นับตั้งแต่เหตุการณ์ Ethereum DAO ไปจนถึงการโจรกรรมบน Bitfinex ตลาด Bitcoin ได้เผชิญกับเหตุการณ์ Black Swan ติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ได้พิสูจน์ถึงหายนะของ Bitcoin ด้วยผลเชิงบวกของ Halving ครั้งที่ 2 ส่งผลให้ภาวะเงินเฟ้อลดลง Bitcoin จึงสามารถฟื้นตัวจากการมูลค่าที่เสียไปทั้งหมดได้ภายในสิ้นปี 2016 และทะลุระดับ US$1,000 ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณ 120% เมื่อเทียบกับระดับต่ำสุดในปี 2016 ที่ US$450 ปีต่อมา ราคาของ Bitcoin พุ่งสูงขึ้นฉับพลันหลายครั้งติดต่อกัน โดยทำ New High สูงสุดที่ US$19,000 ภายในสิ้นปี 2017
มีนาคม 2020: ตลาดล่มจาก COVID-19
ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่กระจายไปทั่วโลก เศรษฐกิจโลกเผชิญกับความท้าทายในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งนำไปสู่การเทขายจำนวนมากในตลาด และเนื่องจากหุ้นสหรัฐฯ ร่วงอย่างรวดเร็วและถดถอยอย่างหนัก (Meltdown) ถึง 4 ครั้งภายในระยะเวลาเพียง 10 วัน ความตื่นตระหนกก็แพร่กระจายจากตลาดการเงินแบบดั้งเดิมไปสู่ตลาดคริปโทเคอร์เรนซี เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2020 ราคาของ Bitcoin ร่วงจาก US$7,900 เป็น US$3,800 ซึ่งลดลงมากกว่า 50% ณ จุดหนึ่ง การดิ่งลงยังส่งผลให้มีการเทขายคริปโทเคอร์เรนซีอื่นๆ ด้วย โดยตลาดคริปโตทั้งหมดร่วงลงอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาอันสั้น จากข้อมูลของ CoinMarketCap มูลค่าตามราคาตลาดทั้งหมดของตลาดคริปโตลดลงจากประมาณ 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนกุมภาพันธ์ เหลือประมาณ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นการหดตัวเกือบ 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
เพียง 2 เดือนหลังจากนั้น Bitcoin ก็เกิด Halving เป็นครั้งที่ 3 และด้วยการเคลื่อนไหวเชิงบวกนี้ ตลาดก็รีบาวด์อย่างรวดเร็ว ภายในสิ้นปี 2020 ราคาทะลุระดับสูงสุดก่อนหน้านี้และทะลุ US$20,000 เป็นครั้งแรก
พฤษภาคม 2021: การเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบและความเชื่อมั่นของตลาด
ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2021 ตลาดคริปโตดิ่งลง Bitcoin เผชิญกับราคาที่ลดลงภายในหนึ่งวันครั้งสำคัญที่สุดคือประมาณ 34% ซึ่งลดลงต่ำกว่าระดับ US$30,000 ในขณะที่ Ethereum เองก็ประสบปัญหาราคาลดลงอย่างมากถึงเกือบ 50% สาเหตุหลักประการหนึ่งของการลดลงนี้คือรัฐบาลจีนกำหนดข้อบังคับที่เข้มงวดมากขึ้นเกี่ยวกับ Bitcoin และคริปโทเคอร์เรนซีอื่นๆ ข้อบังคับเหล่านี้รวมถึงการห้ามไม่ให้สถาบันการเงินและบริษัทรับชำระเงินให้บริการคริปโต Elon Musk ซึ่งเป็น CEO ของ Tesla ยังทวีตคอมเมนต์ที่บอกเป็นนัยว่า Tesla อาจขาย Bitcoin ที่ตนถืออยู่ ซึ่งส่งผลเสียต่อความเชื่อมั่นของตลาด และความเชื่อมั่นของตลาดที่ลดลงนี้ทำให้เกิดกระแสการทุ่มตลาด (Dumping) ส่งผลให้ราคา Bitcoin ยิ่งตกต่ำลงไปอีก
หลังจากตลาดได้มีเวลาประมวลข่าวเชิงลบและทิศทางการเทขาย Bitcoin ก็กลับมามีเทรนด์ขาขึ้นอีกครั้ง และเพียงหกเดือนต่อมา Bitcoin ก็ทำ All Time High ที่ US$67,500
พฤษภาคม 2022: การล่มสลายของ Terra
ในเดือนพฤษภาคม 2022 มีข่าวลือแพร่สะพัดว่า UST ซึ่งเป็น Algorithmic Stablecoin ของ Terra มีความเสี่ยงที่จะหลุด Peg จากเงินดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากราคาของ UST ลดลงอย่างต่อเนื่อง (ปัจจุบันคือ LUNC) มีราคาลดลงจาก US$119 เหลือเพียง US$0.0001972 เกือบจะเป็น 0 การล่มสลายของ Terra ซึ่งเป็นหนึ่งในบล็อกเชนสาธารณะ 10 อันดับแรกของโลก ทริกเกอร์ทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ โดยราคาของ Bitcoin ลดลงมากกว่า 20% ใน 2 สัปดาห์ สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี และมูลค่าตามราคาตลาดของคริปโทเคอร์เรนซีส่วนใหญ่ก็ลดลงอย่างมาก เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบในวงกว้างในช่วงหลายเดือนต่อมา เป็นผลให้บริษัทคริปโตหลายแห่งต้องยื่นขอล้มละลาย ซึ่งรวมถึงบริษัทอย่าง Three Arrows Capital (3AC), Voyager, BlockFi และ Celsius
ผลกระทบจากการล่มสลายของ LUNA และ UST มีความสำคัญมาก และถูกมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นของตลาดหมีรอบใหม่ ในขณะที่ Altcoin ส่วนใหญ่เริ่มมีเทรนด์ลดลง มูลค่าตามราคาตลาดของ Bitcoin ก็ค่อยๆ รีบาวด์ และราคาของ Bitcoin ก็เริ่มกลับสู่ระดับก่อนหน้าที่จะร่วงอีกด้วย
พฤศจิกายน 2022: วิกฤตสภาพคล่องของ FTX
ในเดือนพฤศจิกายน 2022 FTX ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกก็ประสบวิกฤตเช่นกัน Sam Bankman-Fried (SBF) ผู้ก่อตั้งและเจ้าของได้ยักยอกสินทรัพย์จำนวนมากจากแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน FTX ผ่าน Alameda ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของเขาเอง โดยเขาใช้ประโยชน์จากเลเวอเรจสำหรับการเทรดในตลาดคริปโต ซึ่งท้ายที่สุดก็นำไปสู่การเปิดเผยการกระทำเหล่านี้ ส่งผลให้นักลงทุนรีบถอนเงิน จน FTX เผชิญกับวิกฤติสภาพคล่องและในที่สุดก็ยื่นขอล้มละลาย โดยนับตั้งแต่เริ่มเหตุการณ์ไปจนถึงการประกาศล้มละลายของ FTX กินเวลาไม่ถึง 10 วัน และภายในเพียงสัปดาห์เดียว ราคาของ Bitcoin ก็ร่วงลงจาก US$21,285 เหลือ US$16,800 ซึ่งลดลงประมาณ 21%
แต่ภายใน 6 เดือนจากเหตุการณ์ FTX ราคาของ Bitcoin ก็พุ่งสูงถึง US$31,000 และกำลังจะหลุดพ้นจากผลกระทบของ Black Swan ตัวนี้
สรุปปิดท้าย
แม้จะเผชิญกับเหตการณ์ที่ทำให้ราคาร่วงเหล่านี้ Bitcoin ก็สามารถข้ามผ่านอุปสรรคได้สำเร็จและทำลายสถิติใหม่ด้านราคาอย่างต่อเนื่อง ดังสุภาษิตที่ว่า "สิ่งใดที่ฆ่าฉันไม่ตาย สิ่งนั้นก็ทำให้ฉันแข็งแกร่งขึ้น" ในปัจจุบัน ราคาของ Bitcoin มีความผันผวนในระดับที่ค่อนข้างต่ำ และเมื่อถึง Halving ครั้งที่สี่ รางวัลบล็อกสำหรับ Bitcoin จะลดลงจาก 6.5 BTC เหลือ 3.25 BTC เมื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาหลังจากการเกิด Halving แต่ละครั้ง มีความเป็นไปได้สูงที่ภาวะเงินเฟ้อที่ลดลงจะกระตุ้นให้เกิดตลาดกระทิงรอบใหม่ นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงยังได้คาดการณ์อีกว่าราคาของ Bitcoin นั้นจะทะลุระดับ US$100,000 ในตลาดกระทิงรอบถัดไป
แม้ว่าเราจะไม่สามารถคาดการณ์ตลาดคริปโตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ แต่ก็มีเหตุผลหนักแน่นที่เชื่อได้ว่า Bitcoin กำลังกลายเป็นทางเลือกของนักลงทุนมากขึ้น
หากยังไม่ได้เป็น Bitgetter สมัครเพื่อเริ่มต้นการเดินทางของคุณสู่โลกคริปโตได้เลย!
ข้อสงวนสิทธิ์: ความคิดเห็นที่อยู่ในบทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น บทความนี้ไม่ใช่การสนับสนุนผลิตภัณฑ์และบริการใดๆ ที่ได้มีการเอ่ยถึง รวมถึงไม่ใช่คำแนะนำด้านการลงทุน การเงิน หรือการเทรดแต่อย่างใด ขอแนะนำให้คุณปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการรับรองก่อนทำการตัดสินใจใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน
- วิธีถอนโทเค็น CATS จาก Telegram แล้วฝากเข้า Bitget2024-10-01 | 5m
- ฝาก CATI เข้า Bitget ไร้ค่า Gas2024-09-14 | 5m
- Orderly Network (ORDER): พรมแดนใหม่แห่งการเทรดแบบกระจายศูนย์2024-08-27 | 5m